ค้นหา

0221983074

ประวัติความเป็นมาของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) ตอนที่ 2

          ต่อมาในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 กิจการไฟฟ้าในส่วนของภูมิภาคต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากโรงไฟฟ้าเกิดการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง และ อะไหล่ของเครื่องจักรที่ชำรุด ระบบการผลิตไฟฟ้าเกิดการชำรุดทรุดโทรม...จนเมื่อปี พ.ศ. 2490 เศรษฐกิจในประเทศไทยเริ่มดีขึ้น ประเทศไทยจึงได้มีการเริ่มพัฒนาระบบไฟฟ้าที่มีอยู่เดิมให้มีให้มีสภาพดีขึ้น และรัฐบาลได้เห็นชอบให้มีการก่อสร้างขยายกิจการไฟฟ้าในส่วนภูมิภาคเพิ่มขึ้นใหม่อีก  ดังนั้นภารกิจของกองไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จึงมีมากขึ้น จึงได้มีการจัดตั้ง "องค์การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค" ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2497 เพื่อรับผิดชอบดำเนินการกิจการไฟฟ้าในส่วนภูมิภาค
          

          องค์การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้รับการก่อตั้งขึ้นเป็นองค์การเอกเทศตามพระราชกฤษฎีกา เมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2497 และ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2497 โดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการควบคุมการบริหารงาน ภายใต้การควบคุมของกรมโยธาเทศบาล กระทรวงมหาดไทยและรัฐบาล โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจกำกับดูแลโดยทั่วไป

          องค์การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค มีทุนประเดิมตามกฏหมายจำนวน 5 ล้านบาท มีการไฟฟ้าอยู่ในความดูแล 117 แห่ง เมื่อเริ่มกิจการ คณะกรรมการองค์การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ได้กำหนดโครงการและแผนงาน ไว้ ดั้งนี้

          1. ให้ตั้งสำนักงานชั่วคราวไว้ที่ตึกกรมโยธาเทศบาล (กรมโยธาธิการ)เชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ

          2. ให้ก่อสร้าง การไฟฟ้าทุกอำเภอที่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้ ซึ่งขณะนั้นมีอยู่ 227 อำเภอ ในขั้นแรกให้ดำเนินการก่อสร้างเฉพาะอำเภอที่ดำเนินการแล้วไม่ขาดทุน 87 แห่ง ให้แล้วเสร็จภายใน 2 ปี และให้ดำเนินการในรูปบริษัท เรียกว่า บริษัทไฟฟ้าอำเภอ....แต่ละอำเภอ องค์การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคถือหุ้นร้อยละ 51 เปอร์เซนต์ อีก 49 เปอร์เซนต์ ขายให้เอกชน โดยกำหนดมูลค่าหุ้นละ 100 บาท ชำระครั้งแรก หุ้นละ 25 บาท

          3. ให้ซื้อเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและอุปกรณ์ติดตั้ง ช่วยการไฟฟ้าของเอกชนที่ไม่มีทุนทรัพท์จะขยายกิจการได้ โดยให้คิดเป็นราคาหุ้นที่ร่วมลงทุน
       
          4. ให้ซื้อเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและอุปกรณ์ติดตั้งและบูรณะการไฟฟ้าของเทศบาลที่ไม่มีงบประมาณเพียงพอ โดยให้เทศบาลผ่อนชำระและให้คิดค่าส่วนแบ่งเป็นรายหน่วยที่ผลิตได้ในระหว่างที่ยังชำระไม่หมด

          5. ให้รับซื้อกิจการไฟฟ้าของเอกชนที่มิอาจดำเนินการได้มาดำเนินการต่อไป เป็นรูปบริษัท เพื่อรังับความเดือดร้อนของประชาชน ถ้าเป็นการไฟฟ้าประจำจังหวัด ให้เรียกว่า "บริษัทไฟฟ้าจังหวัด"

          6. พนังานที่ดำเนินงานในองค์การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ถ้าไม่จำเป็นให้ยืมตัวจากกรมโยธาเทศบาลก่อน โดยจ่ายเงินเพิ่มพิเศษให้ ซึ่งรวมไปถึงตัวผู้อำนวยการด้วย..

การควบคุมความเร็วของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ (AC)

การควบคุมความเร็วมอเตอร์ AC ทำได้ 2 วิธีคือ

1. แบบเลือกความเร็ว 
              การควบคุมความเร็วมอเตอร์แบบนี้ สามารถเลือกได้ ว่าจะให้มอเตอร์หมุนด้วยความเร็วต่ำ หรือ ความเร็วสูง โดยการกำหนดการทำงานของเมกเนติกคอนแทคเตอร์ และ ตัวมอเตอร์เองต้องมีคุณสมบัติที่สามารถจะรองรับการปรับความเร็วได้ด้วย จึงจะสามารถกำหนดการทำงานของเมกเนติกคอนแทคเตอร์ ว่าจะให้ K1 หรือ K2 ทำงาน ลักษณะของการทำงานนั้น ถ้ามอเตอร์หมุนที่ความเร็วต่ำก่อนจะสามารถเปลี่ยนไปที่ความเร็วสูงได้เลย แต่ถ้าหมุนที่ความเร็วสูงอยู่แล้วต้องการเปลี่ยนเป็นความเร็วต่ำ จะต้องกดสวิตช์หยุดการทำงานเสียก่อน เพื่อชลอความเร็วแล้วจึงกดสวิตช์เริ่มทำงานใหม่เพื่อให้คอนแทคเตอร์ของความเร็วต่ำทำงาน

****** วงจรนี้เหมาะสำหรับใช้เมื่อมี โหลดน้อยๆ ที่เพลาของมอเตอร์

2.แบบควบคุมให้หมุนเรียงตามลำดับความเร็ว
            การควบคุมความเร็วมอเตอร์แบบนี้ มอเตอร์จะต้องหมุนที่ความเร็วต่ำก่อนเสมอแล้วจึงไปหมุนที่ความเร็วสูงได้โดยใช้รีเลย์ช่วย (K3A)ช่วยในการควบคุม การลดความเร็วจากสูงมาต่ำต้องหยุดก่อนแล้วจึงเริ่มใหม่ที่ความเร็วต่ำ

****** วงจรนี้เหมาะสมกับงานที่มีโหลดที่เพลาของมอเตอร์มาก


การควบคุมให้มอเตอร์หมุนเรียงตามลำดับความเร็ว(Selective speed control)


อุุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุม

1.สวิตช์ปุ่มกดสีแดงปกติปิด 1 ตัว = S1 (Push Button switch N.C. )


6227514004